อาจารย์ให้เพื่อน
ๆ ทุกคนจับคู่กันแต่งคำขวัญรณรงค์งดเหล้า มีดังนี้
- สุราเป็นยาเสพติด พวกเราอย่าหลงผิดคิดติดมันเลย
- เ ก็บเงินใส่ขวด ดีกว่าเจ็บปวดเพราะเป็นตับแข็ง
- สุราเป็นยาพา ดื่มนิด ๆ ก็ติดใจ ถ้าไม่อยากตายไวต้องห่างไกลติดสุรา
- ดื่มสุราเหมือนฆ่าชีวิต คิดซักนิดก่อนจะดื่ม
- สุรานั้นทำลายชีวิต อย่าหลงผิดคิดไปลอง(แอน แป้ง) สุราใช่มีค่า อย่าสรรหามันมาลอง เราควรคิดไตร่ตรอง อย่าได้ลองดื่มสุรา
- สุราไม่ใช่พ่อ แล้วจะไปง้อมันทำไม
- สุราน่ารังเกลียด ทำให้แครียดจนมึนงง เราควรจะต้องปลง อย่าไปหลงลองมันเลย
- สุราคือน้ำเมา จะทำเราเสียชีวิต จึงควรคิดให้ดี ก่อนจะติดจนตัวตาย
- ดื่มสุราวันละนิด แค่คิดก็เสี่ยงแล้ว
- เสียเหงื่อเพื่อกีฬา ดีกว่าเสียเงินตรา ให้กับค่าเหล้า
- สุรากินแล้วเมา กลับบ้านเก่าก่อนใครๆ
- สุราลองแล้วติด อย่าได้คิดติดมันเลย
- รักชีวิต อย่าคิดดื่มสุรา
- สุรานั้นไม่ดี มีทั้งพิษและมีภัย ดื่มแล้วก็ติดใจ เงินรั่วไหลหมดกระเป๋า
- ดื่มนมเพื่อสุขภาพ ดีกว่าดื่มน้ำเมาเพื่อมรณภาพ (คู่ของที่ดิฉันที่แต่ง)
อาจารย์สอนเรื่องการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้วรรณกรรมเป็นฐานดดยยกตัวอย่างวรรณกรรม เรื่อง ช้างอัลเฟรด
อัลเฟรด
ฟรานเชสคา วิกนากา (เรื่องและภาพ) / อาหนึ่ง (แปล) จากเรื่อง Alfred (มาเลเซีย)
สำนักพิมพ์ไบร์ท คิด, พิมพ์ครั้งแรก, 2548
อัลเฟรด ช้างน้อยในสวนสัตว์มีหน้าตาไม่เหมือนช้างตัวอื่น
เพราะอัลเฟรดมีงวงที่ยาวมาก-มาก อัลเฟรดพยายามจะซ่อนงวงของตัวเอง
ทั้งม้วนทั้งมัด แต่ซ่อนอย่างไรก็ไม่ได้ผล อัลเฟรดรู้สึกอายงวงของตัวเองจึงมักจะปลีกตัวไปอยู่ตามลำพัง
และแอบร้องไห้เมื่อเห็นช้างตัวอื่นๆ เล่นกัน
วันหนึ่งมีเสียงร้องขอความช่วยเหลือจากเด็กหญิงคนหนึ่งที่ติดอยู่บนกระดานลื่นสูง
ไม่กล้าลงมา สัตว์ทุกตัววิ่งไปดูแต่ไม่มีใครสามารถไต่บันไดไปช่วยได้
อัลเฟรดวิ่งไปที่ไม้ลื่นแล้วใช้งวงยาวพาดขึ้นไป
ช่วยเด็กหญิงคนนั้นลงมาได้
ตั้งแต่นั้นมาสัตว์ทั้งหลายก็ชื่นชมว่าอัลเฟรดคือวีรบุรุษ
อัลเฟรดจึงไม่รู้สึกอายที่มีงวงยาวอีกต่อไป อัลเฟรดออกมาเล่นกับช้างตัวอื่นๆ
และมีความสุขมากที่ตัวเองไม่เหมือนใคร
ภาพวาดช้างน้อยที่แสดงสีหน้าอารมณ์ของความกังวล เศร้าใจ เหงา น้ำตาตก ที่งวงของมันยาวมากเกินไป
และเนื้อเรื่องที่บอกเล่าถึงความพยายามทุกวิถีทางที่จะซ่อนงวงอันยาวนั้นไม่ให้ใครเห็น
เพราะรู้สึกว่าตนเองแตกต่างจากช้างน้อยตัวอื่นๆ ทำให้เด็กๆ
เทียบเคียงกับความรู้สึกของตนเองที่อาจจะรู้สึกว่า “ฉันไม่เหมือนใคร” เพราะมีหรือไม่มีอะไรสักอย่าง ซึ่งเด็กคิดว่าตนเองแตกต่างจากเพื่อน
ด้อยกว่าเพื่อน ไม่ดีเท่าคนอื่นๆ
การมีงวงยาวมากของอัลเฟรดอาจเป็นปัญหาในตอนต้นเรื่อง แต่ในตอนท้าย
อัลเฟรดได้ใช้งวงยาวนั้นสร้างประโยชน์แก่ผู้อื่นจนได้รับการยอมรับ
เด็กหญิงยื่นดอกไม้ให้ ได้ขี่งวงที่แสนพิเศษของช้างเพื่อนแก้ว สัตว์อื่นๆ
ตัวเล็กตัวน้อยมาเกาะงวงของอัลเฟรดต่อกันยาว อัลเฟรดไม่รู้สึกอายอีกต่อไป “ฉันมีความสุขที่ไม่เหมือนใคร”
หนังสือเล่มนี้มีศิลปะในการสอนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง
เกี่ยวกับการยอมรับความแตกต่างและเห็นคุณค่าของตนเองแก่เด็กปฐมวัย การพอใจในตนเองจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความมั่นใจในตัวเอง
พอใจในตัวเอง ผู้ปกครองสามารถใช้ อัลเฟรด เป็นสื่อกลางในการพัฒนาความคิดของเด็กๆ
ให้มองเห็นคุณค่าของตนเอง ไม่ว่าเราจะเหมือนใครหรือไม่เหมือนใครก็ตาม
เราก็ล้วนทำอะไรบางอย่างได้ในแบบของเรา
อาจารย์ให้ฟังเพลงเกาะสมุย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น